การบริหารธุรกิจครอบครัว

บริหารธุรกิจครอบครัว

ธุรกิจครอบครัวตามกฎหมายแล้วอาจแบ่งได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดบริษัทมหาชนหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาจมีสัดส่วนการถือหุ้นส่วนมากกว่าร้อยละ 51 หรือ 100 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

รูปแบบของธุรกิจครอบครัว

  • ธุรกิจอยู่ภายใต้ครอบครัวเดียวกัน
  • ธุรกิจครอบครัวมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาแต่ครอบครัวยังคงถือหุ้น
  • ธุรกิจครอบครัวมีการแบ่งหุ้นกับผู้บริหารมืออาชีพ

ปัญหาและแนวทางในการจัดการธุรกิจครอบครัว

  1. ขาดการจัดโครงสร้างการประกอบธุรกิจที่ดีและการถือหุ้นที่ดี
  2. ขาดการจัดทำเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญ
  3. ขาดกลไกในการจัดสรรผลประโยชน์
  4. ขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในครอบครัว
  5. ขาดแนวคิดในการแยกความแตกต่างระหว่างประเด็นทางธุรกิจและครอบครัว  
  6. ขาดการวางแผนการสืบทอดธุรกิจ
  7. ขาดนโยบายการจ้างงานโดยเฉพาะ
  8. ขาดมืออาชีพที่ช่วยในการบริหารธุรกิจ

แนวทางการจัดการปัญหาธุรกิจครอบครัว

  • แนวทางการแก้ปัญหาสำหรับเรื่องของกฎหมาย
  1. ต้องมีการจัดโครงสร้างหรือการถือหุ้นของบริษัท
  2. ต้องมีการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย เช่น พินัยกรรม
  • แนวทางการแก้ปัญหาสำหรับเรื่องของครอบครัว
  1. จัดให้มีกระบวนการสื่อสารภายในครอบครัว
  2. จัดให้มีกลไกการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างกัน
  3. มีกระบวนการในการคัดเลือกหรือสรรหามืออาชีพ
  4. มีกลไกขจัดปัญหาหรือความขัดแย้งเมื่อเกิดประเด็นระหว่างธุรกิจภายในครอบครัว
  • แนวทางการแก้ปัญหาสำหรับธุรกิจ
  1. จัดให้มีมืออาชีพวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
  2. กำหนดนโยบายให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักทำงานในครอบครัวจากตำแหน่งเล็กๆ
  3. การหามืออาชีพ
  4. ใช้หลักธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  5. การพิจารณาบริษัทที่นำเข้าจดทะเบียนในตลาดทุน
แนวทางการแก้ปัญหา

จุดแข็งในการธุรกิจครอบครัว

  1. ความหลากหลายของสมาชิกในครอบครัวในหลากหลาย Generation
  2. การบริหารงานภายในสมาชิกในครอบครัวมีความยืดหยุ่น
  3. ความอดทนความพยายามและความอ่อนน้อม

จุดเด่นของธุรกิจครอบครัว

  • 1.ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

การที่พนักงานในบริษัทเป็นคนในครอบครัวหรือวงศาคณาญาติของตนเองนั้น หมายความว่าสมาชิกของบริษัทย่อมมีความคุ้นเคยกันมาก รู้จักนิสัยใจคอกันดี

  • 2.ธุรกิจครอบครัวจะมีวัฒนธรรมองค์กร

คนในตระกูลเดียวกันจึงมักมีความเชื่อ ค่านิยมในแบบเดียวกัน เช่น ค่านิยมเรื่องการเคารพอาวุโส การซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การดูแลพนักงานแบบคนในครอบครัว แบบไม่ทอดทิ้งกัน เป็นต้น เมื่อคนรุ่นปู่รุ่นตาที่ได้ก่อตั้งบริษัทมีแนวนโยบายในการบริหารเช่นใด ก็มักจะถ่ายทอดความคิดนั้นมายังลูกหลานให้ช่วยสืบทอดยึดมั่นในหลักการนั้นๆ ด้วย

  • 3.ความซื่อสัตย์และการรักษาความลับ

การทำธุรกิจครอบครัวนั้น มีข้อได้เปรียบสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้บริหารสามารถไว้วางใจคนในครอบครัวในเรื่องความซื่อสัตย์ได้มากกว่าบุคคลภายนอก การรั่วไหลของเงินทอง การสูญเสียของข้าวของเครื่องใช้สำนักงานน่าจะเกิดขึ้นน้อยกว่า เพราะคนในครอบครัวจะช่วยกันเป็นหูเป็นตาห่วงใยทรัพย์สินของบริษัทมากกว่า

  • 4.ความทุ่มเทให้กับงานและความรับผิดชอบเป็นเจ้าของงาน

เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมักมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการอยู่ด้วย ทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ ความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของนี่เอง ที่จะทำให้สมาชิกแต่ละคนมีความห่วงใยบริษัทมากขึ้น ทำให้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และมีความรับผิดชอบทำงานอย่างเต็มที่

แนวทางการแก้ปัญหา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *