
การเล่าเรื่องแบรนด์ (Storytelling) สำคัญอย่างไร?
“Storytelling”
การเล่าเรื่องแบรนด์ (Storytelling) เป็นคำที่นักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ หรือ คนที่ทำธุรกิจควรรู้จัก มีความหมายคือ เทคนิคการเล่าเรื่องที่มีที่มาที่ไป มีจุดเริ่มต้น และ จุดเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อผูกความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราว เพื่อสื่อสารสู่ผู้บริโภคอย่างเข้าใจ ช่วยให้เนื้อหาน่าติดตาม
ทำไม การเล่าเรื่องแบรนด์(Storytelling) ถึงสำคัญสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ ?
สร้างความแตกต่างที่โดดเด่น
ในพื้นที่บนโลกออนไลน์ที่มีการผลิตคอนเทนต์จำนวนมหาศาลอยู่ตลอดเวลา หลายธุรกิจทั่วโลกใช้เงินจำนวนมากในการแข่งขันกับคู่แข่งเพื่อที่จะได้รับความสนใจจากผู้ชมส่งผลให้ธุรกิจคุณต้องปรับตัวในการสร้างคอนเทนต์เพื่อรับมือคู่แข่งบนโลกออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์ที่คล้ายธุรกิจคุณ จะเห็นได้ว่าท่ามกลางคอนเทนต์ที่มีอยู่มากมายทั้งจากคุณและคู่แข่ง จึงเป็นเรื่องยากมากสำหรับการเล่าเรื่องแบรนด์ของเราให้โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง แทนที่เราจะสร้างคอนเทนต์ที่บอกแค่ข้อมูลสินค้า สรรพคุณสินค้า หรือ โปรโมชั่นของคุณ วิธีที่คุณจะสร้างคอนเทนต์ตัวเองโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด คือการสร้างเรื่องราวของแบรนด์คุณให้มีเอกลักษณ์ น่าสนใจและแตกต่าง ใช้วิธี การเล่าเรื่องแบรนด์(Storytelling) ที่เข้าใจได้ง่ายแบ่งปันประสบการณ์ของคุณ เส้นทางหรือความเป็นมาของธุรกิจคุณอย่างมีที่มาที่ไป นำเสนอเรื่องราวเฉพาะตัวของคุณที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ เป็นต้น เรื่องราวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจสามารถดึงความสนใจของผู้ชมมาที่ธุรกิจของคุณได้

สร้างความเชื่อมั่น
เมื่อคุณกำลังสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาให้คุณนึกถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากคุณอย่างแท้จริง (นอกเหนือจากเรื่องของสินค้าหรือบริการ) ลองนึกถึงว่าสินค้า,บริการของคุณช่วยอะไรลูกค้าได้ อะไรคือสิ่งที่เราสามารถมอบให้พวกเขาได้เมื่อพวกเขามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ของคุณ? อะไรคือเรื่องราวของคุณ? ใช้เรื่องราวของคุณในการเชื่อมต่อความรู้สึกระหว่างแบรนด์กับลูกค้า จากการพูดถึงธุรกิจของคุณเพียงอย่างเดียวให้กลายเป็นแบรนด์ที่แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่แบรนด์สามารถช่วยเหลือให้ลูกค้าได้ก้าวข้ามผ่านปัญหาต่างๆไปได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าของคุณมีความเชื่อมั่นและเกิดความผูกพันกับแบรนด์ว่าแบรนด์เป็นที่น่าเชื่อถือและสามารถช่วยเหลือเขาได้ จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณกลายเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนคุณ ติดตาม และกลับมาหาคุณอีกครั้ง

ความเอาใจใส่
ปัจจุบันการตลาดไม่ใช่แค่เรื่องของการแข่งขันที่สำคัญ แต่ลูกค้าต้องการบริษัทที่พิสูจน์ว่าพวกเขามีความพยายามในการช่วยเหลือสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนมนุษย์หรือแม้แต่บุคลากรในองค์กรมากกว่าเรื่องของเงินหรือกำไร นั่นทำให้ลูกค้ารับรู้ว่าบริษัทนั้นให้ความสนใจกับเรื่องของการช่วยเหลือผู้อื่นนอกเหนือจากแค่ผลกำไรของตนเอง ทำให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์และอยากสนับสนุนแบรนด์นั้นๆต่อไป เช่น ในทุกครั้งลูกค้าทำการซื้อสินค้าแบรนด์ของคุณ 10% ของรายได้จะถูกนำไปช่วยเหลือเด็กที่ขาดอุปกรณ์การเรียนเป็นต้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่บริษัทที่เอาใจใส่สังคมและสิ่งแวดล้อมสูงสุด 10 อันดับแรกในดัชนี Global Empathy นั้นเป็นกลุ่มที่ทำกำไรและเติบโตเร็วที่สุดในโลกอย่างเช่น Tesla Motor ที่มีค่าดูแลสุขภาพแก่พนักงานเต็ม 100% แสดงให้เห็นถึงการเอาใจใส่พนักงานขององค์กรและผลิตภัณฑ์รถยนตร์ของTesla ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดมลภาวะทางอากาศและช่วยประหยัดพลังงาน

ถึงตอนนี้ทุกท่านคงเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ ว่าการเล่าเรื่องหรือ Storytelling ที่ดีนั้นสำคัญต่อธุรกิจและการตลาดออนไลน์ในโลกปัจจุบันอย่างไร
นี่ก็เป็นบทความดีๆที่ทาง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิตนำมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ บทความ คณะบริหารธุรกิจ – (rbsrsu.com)
ขอบคุณข้อมูลจาก
stepstraining.co
เรียนบริหารที่ไหนดี ?
การที่จะเลือกเรียนซักที่ต้องศึกษาถึงโครงสร้างหลักสูตร และ สาขาที่มีอยู่ เพราะไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะมีวิชาที่เราอยากเรียน โดยที่สามารถศึกษารายละเอียดได้ตามเว็บไซต์ของคณะ หรือ Facebook Page ต่างๆ
เช่น https://rbs.rsu.ac.th/ คณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรังสิต
ที่ปีนี้เปิดทั้งหมด 6 สาขา พร้อมหลักสูตรใหม่ ทันสมัย ใช้ได้จริงในยุคดิจิทัล
-สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
-สาขาวิชาการจัดการ
-สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
-สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
-สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมค้าปลีก
-สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ#การตลาด
contact
โทร : 02-791-6000
หรือโทร : 081-7056585
แฟ็กซ์ : 02-791-5577
อีเมล : ba-rsu@rsu.ac.th
Line @rbsrsu
Address
มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347
หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน
ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
© Rangsit Business University