
ทำความรู้จักประเภทนักลงทุนใน Startup
เพื่อนๆคงเคยได้ยินหรือรู้จักธุรกิจ Startup กันมาบ้างแต่รู้หรือไม่ว่าในธุรกิจ Startup นั้นมีนักลงทุนอยู่กี่แบบ?
วันนี้คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิตจะพาเพื่อนๆไปรู้จักประเภทของนักลงทุนในธุรกิจ Startup กัน นั่นคือ
Angel Investor และ Venture Capital
Angel Investor
Angel Investors หรือเรียกอีกอย่างว่า นักธุรกิจ นักลงทุน เมล็ดพันธุ์หรือนักลงทุนนอกระบบ คือบุคคลที่มีมูลค่าสุทธิสูงซึ่งมักให้ทุนแก่ บริษัท รุ่นใหม่หรือพูดว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในช่วงแรกของพวกเขา เป็นนักลงทุนอิสระที่มาลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับ Startup ในระยะเริ่มต้น เรียกว่าเป็นการ Seed เงินลงทุนให้ Startup ด้วยเงินทุนของนักลงทุนเอง ซึ่งการที่เราเติมคำว่า Angel เข้าไปหน้าคำว่านักลงทุนนั้น ก็เพื่อจะบอกว่า นักลงทุนประเภทนี้ เป็น “เทพบุตร เทพธิดาของชาว Startup” นั่นเอง
ส่วนใหญ่ Angel Investor จะเป็นบุคคลทั่วไปที่ใช้เงินทุนของตนเองและมีทุนไม่สูงนัก การสนับสนุนทางการเงินนั้นอยู่ในรูปแบบของการลงทุนแบบก้อนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ บริษัทเกิดใหม่ในการสร้างความสำเร็จหรืออาจเป็นการเติมเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ บริษัท ผ่านขั้นตอนเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว

Venture Capital
Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC คือ ธุรกิจการร่วมลงทุน เป็นการนำเงินลงทุนเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท เปรียบเสมือนการอยากจะเปิดบริษัทใดบริษัทหนึ่งแต่เงินทุนไม่เพียงพอ จึงต้องการระดมทุน จากเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือ นักลงทุนท่านอื่น ซึ่งเจ้าของเงินทุนเหล่านี้จะได้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทด้วย และเมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็จะทำการแบ่งตามสัดส่วนของการถือหุ้น Venture Capital เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่หรือบุคคลที่เป็นมืออาชีพซึ่งใช้เงินทุนของบุคคลที่สามในการลงทุนในกิจการใหม่หรือที่เติบโตอย่างรวดเร็วมักมีความเสี่ยงโดยการรวมเงินทุนเข้ากับ บริษัท ที่เรียกว่า กลุ่มทุน.
Venture Capital เป็น Private Equity Capital (การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์)ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการลงทุนในกิจการที่เกิดใหม่และอยู่ในช่วงของการเติบโต (และอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์) โดยทั่วไปนั้น การลงทุนจะอยู่ในรูปแบบของการซื้อหุ้นของกิจการดังกล่าวด้วยเงินสด ดังนั้นการลงทุนในลักษณะที่เป็น Venture Capital จึงมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
นักลงทุนที่เป็น VC ไม่ได้ต้องการถือหุ้นของบริษัทเราไปตลอด ส่วนใหญ่เมื่อลงทุนไปแล้วประมาณ 3 – 5 ปีและนานสุดไม่เกิน 10 ปี ก็จะเริ่มถอนตัวออกจากการถือหุ้นของบริษัท โดยความคาดหวังของ VC คือต้องการให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ และจะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์การลงทุนอื่นๆ
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ บทความ คณะบริหารธุรกิจ – (rbsrsu.com)
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.scb.co.th
th.living-in-belgium.com
เรียนบริหารที่ไหนดี ?
การที่จะเลือกเรียนซักที่ต้องศึกษาถึงโครงสร้างหลักสูตร และ สาขาที่มีอยู่ เพราะไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะมีวิชาที่เราอยากเรียน โดยที่สามารถศึกษารายละเอียดได้ตามเว็บไซต์ของคณะ หรือ Facebook Page ต่างๆ
เช่น https://rbs.rsu.ac.th/ คณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรังสิต
ที่ปีนี้เปิดทั้งหมด 6 สาขา พร้อมหลักสูตรใหม่ ทันสมัย ใช้ได้จริงในยุคดิจิทัล
-สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
-สาขาวิชาการจัดการ
-สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
-สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
-สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมค้าปลีก
-สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ#ธุรกิจดิจิทัล
contact
โทร : 02-791-6000
หรือโทร : 081-7056585
แฟ็กซ์ : 02-791-5577
อีเมล : ba-rsu@rsu.ac.th
Line @rbsrsu
Address
มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347
หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน
ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
© Rangsit Business University