บริหารธุรกิจ อย่างไรให้รอด ในยุค
Digital Disruption
บริหารธุรกิจ ในยุค “Digital Disruption”
กระแสการบริหารธุรกิจเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับวิกฤติการแพร่ระบาด ทำให้การบริหารธุรกิจแบบเดิม ไม่สามารถทำให้เราอยู่รอดได้อีกต่อไป ธุรกิจหลายแห่งต่างต้องปิดตัวลง เพราะไม่อาจปรับตัวให้ทันต่อการเข้ามาของ Digital Disruption ได้ จะมองไปทางใดก็ดูไร้ทางออก แล้วจะมีหลักการบริหารธุรกิจและวิธีการใดที่จะรอดพ้นปัญหานี้ได้ วันนี้พี่จะพาเราไปค้นหาคำตอบพร้อมกันค่ะ ทว่าก่อนหน้าเรามารู้จักกับจุดเริ่มของปัญหานี้กันค่ะ
“Digital Disruption” คืออะไร
กล่าวแบบง่าย ๆ ก็คือ การเข้ามาของมาของเทคโนโลยี หุ่นยนต์นั้น ได้มีบทบาทเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ห้างร้าน อุตสาหกรรม ธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ปัจจุบันเรามักเห็นผู้คนเริ่มสั่งซื้อสินค้า รวมทั้งชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น ทั้งการสแกนและโอนจ่ายนั้น ความสะดวกสบายดังกล่าว ยังผลให้บางธุรกิจและธนาคารหลายแห่งปรับโครงสร้างขององค์กรด้วยการปลดพนักงานลง เนื่องจากหุ่นยนต์และสื่อออนไลน์สามารถเข้าถึงกลุ่มคน และสามารถวัดผลข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ เช่น อัตราการเข้าชมเว็บไซต์ อัตราการหยิบสินค้าลงตระกร้าออนไลน์ในสินค้าหมวดหมู่ต่าง ๆ เป็นต้น และข้อมูลเชิงพฤติกรรมที่ซับซ้อนอย่างการแสดงออกทางสีหน้าของลูกค้า
แม้ปัญหาแรกจะฟังดูน่ากลัว แต่ก็มิเท่ากับการที่ธุรกิจนั้นไม่ยอมปรับตัวและตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ด้วยการไม่ยอมใช้เทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับเพิ่มการขายมากยิ่งขึ้น ร้านค้าของเราไม่อาจอยู่รอดในยุค Digital Disruption ได้
หลักการบริหารธุรกิจ ภายใต้ยุค Digital Disruption
‘5 หลักการสำหรับการบริารธุรกิจ’ จัดเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์สำหรับรับมือการมาถึงของ Digital Disruption โดยเรียงตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. วางแผนโครงสร้างการจัดการอย่างเป็นระบบ (The functions of Management)
- Planning : สำรวจปัญหาก่อนว่าธุรกิจของเรากำลังเจอปัญหาอะไร และเราจะทำให้ปัญหาในธุรกิจของเรานั้นคลี่คลายลงไปอย่างไรบ้าง ด้วยการกำหนดเป้าหมาย และวางขั้นตอนด้วยกลยุทธ์ใด ๆ ที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายนั้น
- Organizing : เชื่อมความสัมพันธ์ของคนที่ทำงานในองค์กรเดียวกัน สามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นได้
- Leading : เป็นผู้นำที่มองเห็นภาพอนาคต (วิสัยทัศน์) สามารถผลักดันและสนับสนุนลูกจ้างในองค์กรตามแต่ความถนัด ด้วยทักษะการโน้มน้าวและการสื่อสารเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Staffing : รับเลือกและคัดสรรบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่ง สำหรับเติมเติมทักษะที่ขาดหายภายในทีมหรือแผนก
- Controlling : ควบคุม ติดตามผลลัพธ์จากการดำเนินการ และประเมินการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน และปรับใช้ให้เหมาะสมแก่สถานการณ์อย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
2. จำแนกประเภทและบทบาทขององค์กร
การจัดโครงสร้างขององค์กรก็เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกแยกกิ่งก้านสาขา สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า แน่นอนว่าตัวเราเพียงคนเดียว ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ เนื่องจากธุรกิจ ๆ หนึ่ง ประกอบไปด้วยหลายงานหลายหน้าที่ การกำหนดหน้าที่และชุดความสัมพันธ์ของพนักงานภายในธุรกิจของเรา จะทำให้เราสามารถติดตามผลการทำงานได้ตั้งแต่ระดับบุคคล แผนก จนถึงระดับผู้บริหารเลยทีเดียว
3. จัดการทรัพยากรองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนถัดมาเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การจัดการเรื่องใดๆ ภายในองค์กรเราในแต่ละครั้ง จะต้องใช้ทั้งเงิน กำลังคน เครื่องใช้สำนักงาน ระยะเวลา รวมไปถึงเทคโลโลยีสำหรับเก็บข้อมูลและวางแผนรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต หากเราวางแผนวางแผนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป จะทำให้แผนของเราเดินหน้าไปอย่างลงตัว (ซึ่งอย่าลืมวางแผนเสริมกรณีไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ด้วย)
4. เข้าใจและส่งเสริมศักยภาพของบุคคล
ด้วยการทำความเข้าใจทฤษฎี 4 มิติของความฉลาดทางอารมณ์ (EQ : Emotional Intelligence) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคคลนั้น ๆ ให้รับผิดชอบงานที่เหมาะสมกับทักษะและความสามารถแฝงที่ซุกซ่อนอยู่ ซึ่งประกอบด้วย
- การตระหนักรู้ตัวเองในระดับสูง (High self-awareness)
- การตระหนักรู้เชิงสังคม (Social awareness)
- การจัดการตัวเอง (Self-management)
- ทักษะทางสังคมที่ดี (Good social skills)
5. เข้าใจธุรกิจของเราเอง
สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และอยู่รอดได้ ก็คือการรู้จักธุรกิจของตัวเอง กลุ่มตลาดที่รองรับธุรกิจนี้ ประเภทของสินค้า พฤติกรรมของผู้คนเวลาเลือกสินค้า รวมไปถึงกระแสความนิยม ส่วนแบ่งตลาด และคู่แข่งสำคัญที่เราต้องแข่งขันด้วย

ฟื้นตัวและปรับตัวไว มีชัยไปกว่าครึ่ง
แม้หลักการข้างต้นจะช่วยให้เราแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเราได้ แต่อีกสิ่งสองที่พี่เห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ คงไม่พ้น การฟื้นตัว (Resilience) และ การปรับตัว (Adaptability) ให้กลมกลืนไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา จะทำให้ธุรกิจของเราสามารถดำเนินต่อไปอย่างไร้สะดุด และเพิ่มโอกาสการเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ยั่งยืนและมั่นคงในอนาคตได้ค่ะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Website : https://www.rbsrsu.com/