
พูดได้เลยว่าถ้าใครได้เรียนหรือคลุกคลีอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ จะต้องเคยได้ยินกับคำว่า POSDCoRB กันบ้างแน่นอน ซึ่งถ้าให้พูดคร่าวๆมันก็เป็นกระบวนการสำหรับผู้บริหารนั่นเอง บทความนี้คณะบริหารธุรกิจจึงอยากแนะนำหลักการบริหารนี้ให้กับทุกคนได้รู้จักกัน
มาทำความรู้จัก กระบวนการบริหาร POSDCoRB #บริหารธุรกิจ #การจัดการ
หลักการนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
หลักการนี้เริ่มมีตั้งแต่ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกองทัพสหรัฐได้รวบรวมนักวิชาการที่เชี่ยวชาญทฤษฎีองค์กรมารวมตัวกันเพื่อประเมินข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการกองทัพในสงครามที่ผ่านมา และนำมาใช้ปรับปรุงจัดการกองทัพให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
POSDCoRB คืออะไร?
เป็นหลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และเอกชน หรือถ้าให้เข้าใจมากขึ้นมันก็คือ เครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับผู้บริหารในการสร้างกลไกการทำงานและโครงสร้างให้กับองค์กร ให้บุคลากรภายในองค์กรรู้หน้าที่ของตัวเองชัดเจน โดยมีผู้บริหารคอยควบคุมงานต่างๆให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งผู้ที่เสนอแนวคิดและทฤษฎีนี้ก็คือ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwic โดยเสนอแนวคิดและภาระหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารด้วยกัน 7 ประการ ตามชื่อตัวอักษรของทฤษฎีนั่นเอง
POSDCoRB มีอะไรบ้าง?

P – Planning = การวางแผน หมายถึง การกำหนดเป้าหมายขององค์กรในอนาคตว่า ต้องทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะต้องมีการดำเนินการอย่างไร เป็นขั้นของการเตรียมการก่อนลงมือทำงาน หรือเป็นการวางโครงสร้างกิจกรรม และแผนงานต่างๆที่ต้องทำ เพื่อให้ดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

O – Organizing = การจัดองค์กร หมายถึง การกำหนดโครงสร้างขององค์กร จัดลำดับของสายบังคับบัญชา รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่รับผิดชอบภายในองค์กร โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน

S – Staffing = การจัดบุคลากร หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์กร หรือก็คือการบริหารงานบุคคลนั่นเอง ซึ่งฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา ว่าจะวางแผนจัดสรรกำลังคนในองค์กรอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน และยังรวมถึงการดูแลสวัสดิการ และพัฒนาบุคลากรให้เติบโตก้าวหน้าในสายงานที่ทำ

D – Directing = การอำนวยการ หมายถึง การตัดสินใจและสั่งการ เพื่อควบคุมการทำงาน หรือก็คือการที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปได้ ซึ่งจะต้องมีการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ การจูงใจ มีมนุษย์สัมพันธ์ และการตัดสินใจ เป็นต้น

Co – Coordinating = การประสานงาน หมายถึง หน้าที่ในการประสานกับหน่วยต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรียกได้ว่านี่คือหัวใจของการบริหาร ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลในทุกระดับ

R – Reporting = การรายงาน หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้า ปัญหา ตลอดจนข่าวสารต่างๆ ให้ทุกฝ่ายในองค์กรได้ทราบกัน เพื่อจะได้ติดตามและแก้ไขปัญหา/อุปสรรคที่เกิดจากการทำงานได้นั่นเอง

B – Budgeting = การจัดการงบประมาณ หมายถึง การจัดทำงบประมาณ และการจัดทำบัญชี ควบคุมการเงินให้มีงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอในการทำงาน
#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ #การจัดการ
contact
โทร : 02-791-6000
หรือโทร : 081-7056585
แฟ็กซ์ : 02-791-5577
อีเมล : ba-rsu@rsu.ac.th
Line @rbsrsu
Address
มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347
หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน
ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
© Rangsit Business University